Search
Close this search box.

SRAN ในงาน CeBit ประเทศเยอรมัน ปี 2008

ผลงานของบริษัทฯ ได้ถูกยอมรับ ทั้งประสบการณ์ งานฝีมือ และการสร้างบุคคลากรด้านไอทีในประเทศ

จึงเป็นบทพิสูจน์ถึงคุณภาพบริษัทในสายตาคนทำงานด้านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในประเทศไทย อีกทั้งเรายังนำผลงานการผลิตอุปกรณ์เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงความปลอดภัย ทางระบบสารสนเทศ ออกสู่สายตาต่างประเทศ ในงาน CeBiT ที่ประเทศเยอรมันนี อีกด้วย จึงสรุปผลงานสำคัญที่ผ่านของบริษัทฯ ดังนี้

อีกก้าวหนึ่งของวงการระบบรักษาความปลอดภัยข้อมูลสารสนเทศในเมืองไทย ที่ได้นำเทคโนโลยี SRAN ออกโชว์ในงาน CeBiT ซึ่งถือได้ว่าเป็นงานโชว์นวัตกรรมที่ยิ่งใหญ่ระดับโลก โดยบริษัท Global Techonology Integrated และบริษัท Plancomm จำกัด ได้นำผลิตภัณฑ์ SRAN ไปโชว์ในงาน CeBiT โดยผสมผสานเทคโนโลยีด้านความปลอดภัยทางข้อมูล การเก็บบันทึกข้อมูล โดยใช้เทคนิคของทีมงาน SRAN คิดค้นขึ้นที่เรียกว่า Hybrid Log Recorder เพื่อใช้เก็บบันทึกข้อมูลทางอาชญากรรม การใช้งานที่ไม่เหมาะสมทางเครือข่าย ที่สะดวกในการติดตั้ง มีประโยชน์สำหรับผู้บริหารงานไอที งานนี้จัดขึ้นในวันที่ 4 – 9 มีนาคม 2551 ที่ประเทศเยอรมันนี แสดงให้เห็นว่าคนไทยก็สามารถนำนวัตกรรมไอที โชว์ในงานระดับโลกได้

ร่วมลงนามงานบริการด้านความปลอดภัยกับบริษัท กสท โทรคมนาคม ในการให้บริการระบบความมั่นคงปลอดภัยเครือข่ายอย่างครบวงจร

สำนักงานตำรวจแห่งชาติ เลือกใช้เทคโนโลยี SRAN ในศูนย์ IDC (Internet Data Center) ทั้งระบบ Security Gateway และระบบเก็บบันทึกข้อมูลจราจร ตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ 2550

ร่วมกิจกรรมกระทรวงไอซีที และ SIPA ออกงานสัมนา ทั้งงานสนับสนุน Open source และงานให้ความรู้แก่หน่วยงานรัฐบาล

กิจกรรมส่งเสริมสังคม และเป็นผู้สนับสนุนงานกีฬา งานวิจัย และงานฝึกอบรม เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจถึงภัยคุกคามทางระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต

ทางบริษัท ฯ ทีมพัฒนาวิจัย SRAN Technology ได้จัดอบรมเพื่อให้ความรู้กับหน่วยงานด้านความมั่นคงของประเทศ

และได้รับรองจากทางมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ และให้ความรู้แก่บุคคลากร นิสิตนักศึกษา ที่เป็นกำลังสำคัญของประเทศ

อีกทั้งสร้างชุมชน Online เพื่อเผยแพร่เทคนิคการป้องกันภัยและเรียนรู้ถึงเทคโนโลยีด้านความปลอดภัย ข้อมูลสารสนเทศ ทั้งจากบทความ และกิจกรรมที่ส่งความรู้

จากคำกล่าวที่ว่า “กรุงโรมมิได้สร้างเสร็จภายในวันเดียว” เป็นเวลากว่า 4 ปี ภายใต้สัญลักษณ์ แมววิเชียรมาส เฝ้าระวังภัย วิเคราะห์ และเก็บบันทึกข้อมูลจราจรระบบสารสนเทศ ให้กับคนไทย